โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 81 – มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colorectal cancer) ทำให้ชาวอเมริกันเสียชีวิต 52,163 คนในปี ค.ศ. 2018 เป็นสาเหตุของมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งที่พบมาก (Common) เป็นอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเกือบทั้งหมดวิวัฒนาจากติ่งเนื้อ (Polyp) ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ (Colon) หรือลำไส้ตรง (Rectum)

ดังนั้น เช่นเดียวกับมะเร็งปากมดลูก (Cervical) การตรวจคัดกรอง (Screen) สามารถค้นหามะเร็งในระยะแรก และที่สำคัญสามารถค้นหาติ่งเนื้อ (Precancerous growth) ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นมะเร็งและเอาออก (Remove) ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Disease Control and Prevention: CDC) และ คณะทำงานป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. Preventive Services Task Force: USPSTF) ได้แนะนำ (Recommend) ให้เริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงตั้งแต่อายุ 50 ปี ในขณะที่สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society: ACS) แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 45 ปี

ตรงกันข้ามกับคำแนะนำอื่นๆ มีวิธีการตรวจคัดกรองหลายวิธี แต่วิธีที่รู้จักกันมากที่สุด (และถูกเกรงกลัว [Dread]โดยหลาย ๆ คนเนื่องจากการเตรียมตัวที่ไม่สบาย [Uncomfortable preparation] สำหรับการตรวจ) คือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscope) ซึ่งแนะนำให้ทำทุกๆ 10 ปี

วิธีอื่นๆ ได้แก่ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (Sigmoidoscope) ทุกๆ 5 ปี การส่องตรวจ (Scan) ภาพลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องใส่กล้อง [CT (=Computed tomography) colonography], และการทดสอบอุจจาระ (Stool) 3 วิธีที่แตกต่างกันเป็นประจำทุกปี

ก่อนที่จะตัดสินใจหลีกเลี่ยง (Avoid) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เนื่องจากมีทางเลือก (Alternative) อื่นที่สามารถใช้ได้ (Available) สิ่งสำคัญคือต้องเน้นว่าการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ยังคงมีความสัมพันธ์ (Associated) กับการเพิ่ม (Gain) จำนวนปีของชีวิตที่รอดพ้นจากโรคมะเร็งและการลด (Averted) จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุด

การตรวจคัดกรองแต่ละวิธีมีความเสี่ยง (Risk) และประโยชน์ (Benefit) ต่างกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ของตนเอง เนื่องจากการเลือกวิธีการตรวจ, เวลา, และความถี่ (Frequency) ของการตรวจคัดกรอง (Screening) อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามประวัติการแพทย์ส่วนบุคคลและครอบครัวของแต่ละคน

ตัวอย่างเช่น หากพ่อแม่ของบุคคลใดมีมะเร็งลำไส้ใหญ่ในวัย 40 ปี บุคคลนั้นอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองที่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นเวลา 10 ปีก่อนอายุที่สมาชิกใกล้ชิด (Immediate member) ในครอบครัวได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed)

ไม่ว่าจะเลือกวิธีหรือการทดสอบใด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตรวจคัดกรองให้ทันเวลา (Timely) โดยอุดมคติแล้ว (Ideally) หากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) พบความผิดปรกติ (Abnormal) จะเป็นเพียงติ่งเนื้อ (Precancerous polyp) ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นมะเร็งที่สามารถเอาออกได้ (Removable)

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.